รายละเอียดหนังสือ
สำนักพิมพ์ชวนอ่านร่วมกับโครงการปริญญาโท วัฒนธรรมจีนศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดพิมพ์หนังสือ จริยศาสตร์ต่างตอบแทนในปรัชญาขงจื่อ
หนังสือจริยศาสตร์ต่างตอบแทนในปรัชญาขงจื่อ เล่มนี้ พัฒนาต่อยอดมาจากบทความวิจัย “ จริยศาสตร์ขงจื่อ: จริยศาสตร์ต่างตอบแทน” เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการวิจัย “ สร้างแผนที่จริยศาสตร์” ภายใต้ชุดโครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (เมษายน พ.ศ. 2554 - ตุลาคม พ.ศ. 2555)
จริยศาสตร์ขงจื่อไม่ได้ตั้งเป้าหมายสุดท้ายไว้ที่โลก “เหนือ” มนุษย์ซึ่งเป็นความจริงอันยิ่งใหญ่ เป็นนิรันดร์ ภาพอุดมคติของมนุษย์ก็มิใช่นักบุญผู้เสียสละหรือพระอรหันต์ผู้ปลอดกิเลสตัณหา หากแต่เป็นวิญญูชน บุตรกตัญญู กัลยาณมิตร ขุนนางผู้ภักดี ผู้ปกครอง ผู้ทรงคุณธรรม มนุษย์ที่ดีเหล่านี้เอื้อต่อการสร้างและการอยู่ร่วมกันในชุมชนมีมนุษยธรรม
หนังสือเล่มนี้พยายามตอบคำถามว่าภาพอุดมคติทางศีลธรรมเกี่ยวกับมนุษย์ในลักษณะดังกล่าวดำรงอยู่อย่างไรในจริยศาสตร์ต่างตอบแทน พร้อมทั้งเสนอบทวิเคราะห์การจัดครรลองจริยศาสตร์ต่างตอบแทนของขงจื่อ ตั้งแต่ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดที่สุด ได้แก่ บิดามารดา-บุตร มิตรสหาย ผู้ปกครอง- ขุนนาง-ประชาราษฎร์ จนถึงความสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าคนต่างวัฒนธรรม การพัฒนาศักยภาพทางศีลธรรมของคนในการต่างตอบแทนเป็นรากฐานแห่งสังคมอุดมคติในปรัชญาขงจื่อ ความเป็นไปได้ของชีวิตที่ดีของมนุษย์พัฒนามาจากการสร้างประธานทางศีลธรรมผู้สามารถเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับอย่างเหมาะสม และสามารถกล่อมเกลาเป็นความสัมพันธ์ต่างตอบสนองระหว่างมนุษย์อันรื่นรมย์ และบรรสานสอดคล้องกับวิถีแห่งจักรวาล
สั่งซื้อ 1,000 บาทขึ้นไป จัดส่งฟรีทั่วประเทศไทย! (หากสั่งซื้อต่ำกว่า 1,000 บาทคิดค่าจัดส่ง 50 บาท)
คำค้นหา : ประวัติศาสตร์ จริยศาสตร์ต่างตอบแทนในปรัชญาขงจื่อ
ประวัติผู้เขียน
รองศาสตราจารย์ ดร. สุวรรณา สถาอานันท์
การศึกษา
อักษรศาสตรบัณฑิต (สาขาปรัชญา) เกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Master of Arts University of Hawaii, USA (Philosophy)
Doctor of Philosophy University of Hawaii, USA (Philosophy)
เกียรติประวัติ
รางวัลเหรียญทอง สาขาปรัชญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2520
ทุนการศึกษาและวิจัย
ทุนบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2521-2523
ทุนร่วมวิจัยระดับดุษฎีบัณฑิต สถาบันอีสต์เวสต์ เซ็นเตอร์ สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2523-2525
ทุน ASIA LEADERSHIP FELLOW, INTERNATIONAL HOUSE OF JAPAN และ JAPAN FOUNDATION ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2541
ผลงานทางวิชาการ
งานวิจัย
“พุทธธรรมในรัฐไทย: ข้อพิจารณาญาณวิทยาทางสังคม” ส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “พุทธธรรมในสังคมไทย” สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2528-2529
หัวหน้าโครงการวิจัย “ความ คิด-ความเชื่อไทย” สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2532-2533
“ปรัชญาพุทธทาสกับมหายานธรรม” กองทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช ฝ่ายวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2534-2535
“สถานภาพการวิจัยปรัชญาในประเทศไทย” คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2537-2539
ผู้ประสานงานโครงการวิจัย “สตรีศึกษาในประเทศไทย” ศูนย์สตรีศึกษาแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัย EWHA WOMAN’S UNIVERSITY ประเทศเกาหลี พ.ศ. 2542-2543
“โครงการวิจัยแปลคัมภีร์ขงจื๊อ” ฝ่ายวิจัย คณะอักษรศาสตร์ พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน
ผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์เป็นเล่ม
สุวรรณา สถาอานันท์ (แปล) เยิรเงาสลัว (งานนิพนธ์ของจุนอิจิโร ทานิซากิ) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2527)
สุวรรณา สถาอานันท์ มนุษยทัศน์ในปรัชญาตะวันออก (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532)
สุวรรณา สถาอานันท์ (แปล) ระเบียบสังคม ระบบศึกษา (งานนิพนธ์ของเบอร์ทรันด์ รัสเซล) (กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2533)
สุวรรณา สถาอานันท์ ภูมิปัญญาวิชาเซ็น: บทวิเคราะห์คำสอนปรมาจารย์โดเก็น (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ส่องสยาม, 2534)
สุวรรณา สถาอานันท์ และ เนื่องน้อย บุณยเนตร (บรรณาธิการ) คำ: ร่องรอยความคิดความ เชื่อไทย (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535)
สุวรรณา สถาอานันท์ ปรัชญาพุทธทาสกับมหายานธรรม (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536)
สุวรรณา สถาอานันท์ กระแสธารปรัชญาจีน (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2539)
สุวรรณา สถาอานันท์ เงินกับศาสนา (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมล คีมทอง, 2542)
สุวรรณา สถาอานันท์ ศรัทธาและปัญญา: บทสนทนา ทางปรัชญาว่าด้วยศาสนา (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545)
สุวรรณา สถาอานันท์ หลุนอี่ว์: ขงจื่อสนทนา (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555)
บทความวิชาการที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ (คัดสรร)
Suwanna Satha-Anand, “Religious Movements in Contemporary Thailand: Buddhist Struggles for Modern Relevance,”
ASIAN SURVEY Vol. XXX No.4 (April 1990) (University of California at Berkeley)
Suwanna Satha-Anand, “Healing the Earth with Women and Buddhism,” ASIA PACIFIC WOMEN’S STUDIES JOURNAL NO.4
(The Institute of Women’ Studies, The Philippines)
Suwanna Satha-Anand, “Looking to Buddhism to Turn Back Prostitution in Thailand” in Joanne R.Bauer and Daniel A. Bell (eds.)
The East Asian Challenge for Human Rights. New York: Cambridge University Press, 1999)
Suwanna Satha-Anand, “Truth over Convention: Feminist Interpretations of Buddhism” in Courtney W. Howland (ed.)
Religious Fundamentalisms and the Human Rights of Women. (New York: St. Martin Press, 1999)
Suwanna Satha-Anand, “Female Ordination and Women’s Rights in Buddhism,” Humanitas Asiatica. Vol.2, No.1 (December 2001)
Suwanna Satha-Anand, “Buddhist Pluralism and Religious Tolerance in Thai Society,” Forth-coming.
การฝึกอบรม/ การเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
บรรยายพิเศษเรื่อง “Religious Movements in Contemporary Thailand”, Department of Anthropology, มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, สหรัฐอเมริกา 1988
เสนอบทความเรื่อง “Buddhadasa’ s Philosophy: Towards Modern Buddhism in Thailand” The Fifth International Conference on Thai Studies ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร, 1993
เสนอบทความเรื่อง “Buddhism and Moral Justice ” The Seventh East-West Philosophers’ Conference ณ มหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐอเมริกา, 1995
บรรยายสาธารณะเรื่อง “Buddhism and Social Change in Thailand” ณ มหาวิทยาลัยทัสมาเนีย มหาวิทยาลัยอาเดอร์เลร์ดและมหาวิทยาลัยวอลองกอง ออสเตรเลีย, 1996
บรรยายสาธารณะเรื่อง “Buddhism and Women’s Rights” ณ มหาวิทยาลัยรัตเกอร์ส มลรัฐนิวเจอร์ซี่ สหรัฐอเมริกา, 1998
เสนอบทความเรื่อง “Buddhism on Sexuality” ในการประชุมประจำปีของสมาคม วิชาการ The American Academy of Religion ณ มลรัฐฟลอริด้า สหรัฐอเมริกา, 1998
ร่วมอภิปรายเรื่อง “Bio-ethics and Human Agency from Buddhist Perspective” Luso-American Development Foundation ณ กรุงลิสบอน ปอร์ตุเกส, 2000
เสนอบทความเรื่อง “Buddhism on Social Transformation in Asia” ณ มหาวิทยาลัยวอลองกอง ออสเตรเลีย, 2000
เสนอบทความเรื่อง “Reason and Technology: A Buddhist Response” ในการประชุม The 8th East-West Philosophers’ Conference ณ มลรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา, 2000
ร่วมอบรมระเบียบวิธีวิจัยสตรีนิยม สำหรับสมาชิกสมาคมการวิจัยเพื่อสตรีและครอบครัว ณ เมืองซีอาน สาธารณรัฐประชาชนจีน, 2001
บรรณาธิการร่วม งานวิจัยสตรีศึกษาแห่งเอเซีย ณ เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ , 2002
เสนอบทความเรื่อง “Buddhist Pluralism and Religious Tolerance in Thai Society” ในการประชุม The Fourth International Conference of the Asia Pacific Philosophy Education for Democracy ณ มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ออสเตรเลีย, 2002