การประชุมทางวิชาการ "เหตุเกิดในราชวงศ์หมิง"

การประชุมทางวิชาการ "เหตุเกิดในราชวงศ์หมิง"

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553
เวลา 8.00-16.00 น.

ณ ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 อาคารเอนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์           

จัดโดย โครงการจีนศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ
โครงการปริญญาโทวัฒนธรรมจีนศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ร่วมสนับสนุนโดย อาศรมสยาม-จีนวิทยา และสำนักพิมพ์ชวนอ่าน


ราชวงศ์หมิงแห่งจักรวรรดิจีน (ค.ศ. 1368 – 1644) เป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชนชาติที่เรียกตนเองว่า "ชาวฮั่น" 
ในช่วงประวัติศาสตร์สมัยซึ่งกระหนาบด้วยราชวงศ์เชื้อสายชนส่วนน้อย อันได้แก่ ราชวงศ์หยวนของชาวมงโกลก่อนหน้า 
กับราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูที่ตามหลังมา ตลอดช่วงเวลาเกือบสามศตวรรษในแผ่นดินราชวงศ์หมิง มีเหตุและปรากฏการณ์
ที่สำคัญเกิดขึ้น
มากมายหลายกรณี ซึ่งกลายเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดผลทั้งทางบวก อันนำความรุ่งเรืองไพบูลย์มาสู่สมัย
กับทั้งผลในทางลบ 
ซึ่งทำความเสื่อมให้เกิดขึ้นเป็นข้อสังวรจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ คุณและโทษสมบัติทั้งหลายนี้
กล่าวกันว่า กษัตริย์ในสมัยราชวงศ์ชิงต่อมา
ได้ศึกษาและดำเนินการ “ต่อยอดข้อเด่น เลี่ยงเว้นข้อด้อย” จนเป็นพื้นฐานสำคัญ
ที่ส่งผลให้สามารถดำรงราชบัลลังก์อยู่ได้อย่างยาวนาน 
ดังนั้น การศึกษาพิจารณาเหตุและปรากฏการณ์ดังกล่าวเหล่านั้น
ให้ลึกซึ้งถี่ถ้วน จึงย่อมยังประโยชน์และคุณค่าให้เกิดแก่วงวิชาการได้โดยปริยาย

ราชวงศ์หมิงของจีน ยังอาจนับได้ว่าเป็นรัชสมัยที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทยอย่างสำคัญ ชาวไทยและวัฒนธรรม
การศึกษาของไทยดูจะคุ้นเคยกับภาพลักษณ์ของจีนในสมัยราชวงศ์หมิงมากกว่าสมัยอื่น ทั้งโดยเหตุแห่งการรับรู้ผ่านวรรณกรรมแปล
ซึ่งล้วนเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นในสมัยหมิง ทั้งโดยเหตุแห่งการศึกษาบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกรุงศรีอยุธยา

ทั้งในด้านการค้าและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐอาณาจักร ทั้งโดยเหตุแห่งการสมาคมและเรียนรู้วิถีการดำรงชีพของชาวจีน
ที่อพยพเข้ามาอยู่ในเมืองไทย ซึ่งมีการดำเนินชีวิตตามค่านิยมของจีนสมัยหมิงเป็นแบบแผนพื้นฐาน จึงปรากฏมีนักวิชาการไทย
จำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะนักวิชาการรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความชำนาญ และสนใจศึกษาเกี่ยวกับเหตุและปรากฏการณ์ในประวัติศาสตร์
ราชวงศ์หมิง


โครงการจีนศึกษา และโครงการปริญญาโทวัฒนธรรมจีนศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้จัดการประชุมทางวิชาการ
ในหัวข้อ "เหตุเกิดในสมัยราชวงศ์หมิง" ขึ้น เพื่อให้วงวิชาการไทยได้มีโอกาสสดับ และพิจารณาข้อมูลและข้อวิจัยที่เกี่ยวข้องกับช่วง
ประวัติศาสตร์จีน
ที่น่าสนใจนี้ร่วมกัน โดยมิได้เก็บค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

08.30-09.00 น.  ลงทะเบียน
09.00-09.15 น.  พิธีเปิด กล่าวรายงาน อ.รสสุคนธ์ ขันธ์นะภา
 ประธานโครงการจีนศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 กล่าวเปิดงาน ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
09.15-10.15 น.  ปาฐกถาเกียรติยศ ผศ.ดร.สืบแสง พรหมบุญ
 รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต
10.15–10.30 น.  พักรับประทานอาหารว่าง
10.30–11.15 น.  "นิยายกับธุรกิจการพิมพ์ในสมัยราชวงศ์หมิง"
 ผศ.ดร. กนกพร นุ่มทอง สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 ผู้วิจารณ์ ผศ.ถาวร สิกขโกศล ที่ปรึกษาโครงการจีนศึกษา

 สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
11.15–12.00 น.  "เหตุเกิดในปลายสมัยหมิง: ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ 
  ในศตวรรษที่ 16 ถึงต้นศตวรรษที่ 17"
 อ.ดร. ปิยดา ชลวร นักวิชาการอิสระ
12.00–13.30 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30–14.15 น.  "มุมมองของหมิง: การศึกษาภาพสะท้อนสังคมสยามในเอกสารประวัติศาสตร์จีนสมัยราชวงศ์หมิง"
 อ.ดร. ปิยะมาศ สรรพวีรวงศ์ ภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 ผู้วิจารณ์ รศ. วุฒิชัย มูลศิลป์ นายกสมาคมประวัติศาสตร์ฯ ภาคีราชบัณฑิต
14.15–15.00 น.  "การศึกษาเบื้องต้นว่าด้วยการขัดเกลาจริยธรรมในปรัชญาของหวังหยังหมิง"
 อ.ดร. ศริญญา อรุณขจรศักดิ์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 ผู้วิจารณ์ รศ.ดร. สุวรรณา สถาอานันท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์
 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
15.00–15.15 น.  พักรับประทานอาหารว่าง
15.15–16.00 น.  "วิวาทะเกี่ยวกับสาเหตุการเดินเรือของเจิ้งเหอในต้นราชวงศ์หมิง"
 อ.สิทธิพล เครือรัฐติกาล โครงการปริญญาเอกสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 ผู้วิจารณ์ อ.ประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายจีนศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียว 
 เฉลิมพระเกียรติ

 พิธีกร อ.ดร.สุรสิทธิ์ อมรวณิชศักดิ์ ภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

#สำนักพิมพ์ชวนอ่าน

#โรงเรียนภาษาและภูมิปัญญาตะวันออก
#OKLS

www.ChuanAnBooks.com

Chuan An Books

www.OKLS.net

OKLS Chinese and Japanese


Print